Research Project in Brain Stroke – Sat4Feb23

วันเสาร์ 16.30-19.30 | 4 ก.พ. – 27 เม.ย.66 (#Dek67-68-69)

สินค้านี้หมดจากคลังสินค้า ไม่สามารถซื้อได้

รหัสสินค้า: ไม่ระบุ หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

Research Project in Brain Stroke

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke คือ ภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันหรือมีเลือดออกในสมอง หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้สมองตาย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์ทันที การรักษาอย่างรีบด่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยลดความรุนแรงจากภาวะสมองตาย และรวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ และยังป้องกันความพิการและทุพพลภาพที่จะเกิดขึ้น

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมี 3 ประเภท สาเหตุแรกคือหลอดเลือดเกิดตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) และหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack) นำมาก่อน

ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke)
พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่

ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก

ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
การได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่มากเกินความจำเป็น
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm or arteriovenous malformation)

การบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
มีโปรตีนสะสมผิดปกติในผนังหลอดเลือด (cerebral amyloidosis)

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack – TIA)
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) คืออาการโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการเป็นไม่นาน (< 24 ชั่วโมง) แล้วอาการดีขึ้นได้เอง สาเหตุของ TIA เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเป็นระยะเวลาชั่วคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการ 5-15 นาที แล้วอาการดีขึ้นเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรทำการพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจแยกระหว่างโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ

ปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
  • โรคอ้วน ทานอาหารที่มีไขมันมาก รสเค็ม
  • สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ต่อเนื่อง
  • ดื่มสุราในปริมาณมาก
  • ใช้สารเสพติด
  • โรคประจำตัวและความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ไขมันคลอเรสเตอรอลสูง
  • เบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคหัวใจ เช่น ภาวะะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation, ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ (infective endocarditis)
  • โรคหลอดเลือดแดงที่คอตีบ (severe carotid or vertebral stenosis)
  • ภาวะเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ (Polycythemia vera or Essential thrombocytosis)
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (Thrombophilia)
  • โรคหลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรค Moyamoya, Cerebral autosomal dominant and subcortical leukoencephalopathy (CADASIL)
  • มีการเซาะตัวของผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (carotid or vertebral artery dissection)
  • ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
    • อายุ — ผู้สูงวัยอายุ 55 หรือมากกว่า มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรค มากกว่าคนหนุ่มสาว
    • เชื้อชาติ— กลุ่มคนชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
    • เพศ — เพศชายมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพศหญิงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่เพศหญิงมักจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองเมื่ออายุมากขึ้นและพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
    • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
    • การใช้ฮอร์โมน — การใช้ยาคุมกำเนิดหรือการใช้ฮอร์โมนบำบัด ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

แหล่งข้อมูล MedPark hospital

สำหรับน้องๆ ระดับมัธยมปลายที่ต้องการมีผลงานวิจัย
🐸 โครงการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
🐸 พัฒนา 2 ผลงานวิจัย 1) งานกลุ่มเป็น Survey Research และ 2) ผลงานกลุ่มเล็กบทความทางการแพทย์ 
🐸 ระยะเวลาโครงการประมาณ 3 เดือน
🐸 เรียน 11 ครั้ง
🐸 ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการวิจัยคนละ 24,000 บาท

ตารางเรียน ทุกวันเสาร์ 16.30-19.30

  • ตารางเรียน
    • ครั้งที่ 1 ส. 4 ก.พ. Introduction to Brain Stroke
    • ครั้งที่ 2 ส. 11 ก.พ. Risk Factors and Prevention
    • ครั้งที่ 3 ส. 18 ก.พ. Work on Literature Review
    • ครั้งที่ 4 ส. 25 ก.พ. Research Design | Data Collection (1)
    • ครั้งที่ 5 ส. 4 มี.ค. Literature Review and write paper (2)
    • ครั้งที่ 6 ส. 11 มี.ค. Literature Review and write paper (2)
    • ครั้งที่ 7 ส.  18 มี.ค. Literature Review and write paper  (2)
    • ครั้งที่ 8  ส. 25 มี.ค. Literature Review and write paper  (2)
    • ครั้งที่ 9 ส. 8 เม.ย. Data Analysis and Write Paper -Survey (1)
    • ครั้งที่ 10 ส. 22 เม.ย. Write Paper  (1)
    • ครั้งที่ 11 ส. 29 เม.ย. Write Paper  (1)

📍 รับเฉพาะ #ม.4-5 (#dek67-68)
📍 ทุกบทเรียนมีการบันทึกวีดีโอ นักเรียนเรียนซ้ำได้

📍 โครงการนี้เรียนผ่าน zoom ได้ทุกครั้ง

ทีมผู้ดูแลโครงการ

  • อ. ดร. จิน ปฤษฎี  – Ph.D. Pathobiology
  • อ. พี่หมอ เชียร์ นฤภร – นักศึกษาแพทย์ ปีที่ 6 และ ประธานงานประชุมวิจัยนักศึกษาแพทย์นานาชาติ ปี 2021

ค่ายนี้เหมาะสำหรับใคร

  • นักเรียน #ม.4-5 (#dek67-68)
  • พัฒนาผลงานวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้โดดเด่นโดยการทำงานวิจัย และยื่นตีพิมพ์
  • น้องๆที่สนใจยื่นพอร์ต คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ #แพทย์

สถานที่เรียน

แต่ละครั้งเลือกเรียนได้

  1. Tree Learning อาคารซีพีทาวเวอร์ 3 พญาไท ชั้น 1 อาคารบี หรือ
  2. ออนไลน์ผ่าน Zoom

สิ่งที่ต้องเตรียมมา

คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค / Table

ค่าใช้จ่าย

  • คนละ 24,000 บาท

วันเรียน

วันเสาร์ 16.30-19.30 | 4 ก.พ. – 27 เม.ย.66


รับเกียรติบัตร และรูปถ่ายทำกิจกรรม รูปถ่ายกิจกรรมโหลดได้ที่ www.facebook.com/treelearningx

ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 095-505-5665 แอดไลน์ @treelearning

หัวข้องานวิจัยอื่นๆ คลิ๊ก https://treelearningx.cc/product-category/research-project/

โครงการวิจัย

RP Brain Stroke 4Feb22

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “Research Project in Brain Stroke – Sat4Feb23”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart